โดยชั้นโอโซน เป็นส่วนหนึ่งชั้นบรรยากาศของโลกที่ประกอบด้วยโอโซนในปริมาณมาก ชั้นโอโซนช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ประมาณ 97-99% ของรังสีทั้งหมดที่แผ่มายังโลก
โอโซนคือรูปแบบพิเศษของออกซิเจน ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในชั้นของบรรยากาศชั้นบน ๆ ชั้นโอโซนนี้มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อโลก
ฮาโลคาร์บอน (HC) คือสารประกอบคาร์บอนที่ รวมตัวกับ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน หรือ ไอโอดีน ฮาโลคาร์บอน ที่ประกอบด้วยคลอรีน เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs), ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs), คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4), เมธิลคลอโรฟอร์ม (CH3CCl3) และรวมกับโบรมีน ที่เรียกว่า ฮาลอน (halon) ซึ่งเป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการทำลายชั้นโอโซน ส่วนมากมักเกิดจากการสังเคราะห์ การลดลงของชั้นโอโซนมีผลทำให้พลังงานมีการแผ่รังสีเป็นลบ และพลังงานการแผ่รังสีสุทธิโดยฮาโลคาร์บอนจะน้อยกว่าพลังงานการแผ่รังสีตรง CFCs ต่างๆ จะถูกสลายตัวโดยแสงอาทิตย์ช่วงอัลตราไวโอเลตในชั้นสตราโตสเฟียร์และมีช่วงชีวิตยาว เช่น CFC-11 =50 ปี อย่างไรก็ตาม HCFCs และ เมธิลคลอโรฟอร์ม ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยไฮโดรเจน จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลไฮดรอกซิลในชั้นโทรโพสเฟียร์ ทำให้มีช่วงชีวิตที่สั้น (เมธิลคลอโรฟอร์มมีช่วงชีวิต ประมาณ 5 ปี) ระดับของฮาโลคาร์บอน เช่น ซีเอฟซีต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หรือมากกว่านั้นในทศวรรษที่ 1970 แต่ปัจจุบันได้หยุดการเพิ่มขึ้นแล้วเนื่องจากกฏหมายที่ห้ามการผลิตและการปล่อยสารทำลายโอโซนในพิธีสารมอนทรีออลและการแก้ไขต่างๆในเวลาต่อมา
แนวโน้มระยะยาวของ ก๊าซฮาโลคาร์บอนต่างๆ มีดังนี้
- CFC-11 สูงสุดปี 1992 หลังจากนั้นเริ่มลดลง ยังไม่มีข้อมูลใหม่ในปี 2014
- CFC-12 ลดลงตั้งแต่ปี 1990 จนปัจจุบันมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ิ่ ยังไม่มีข้อมูลใหม่ในปี 2014
- CFC-113 หยุดการเพิ่มตั้งแต่ปี 1990 และ มีแนวโน้มจะหยุดเพิ่มในเร็วๆนี้ ยังไม่มีข้อมูลใหม่ในปี 2014
- HCFC-141b และ HCFC-142b ซึ่งใช้เป็นสารทดแทน CFC มีค่าเพิ่มขึ้น
- CCl4 เพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 1991 หลังจากนั้นจึงมีการลดลงอย่างช้าๆ และกลับมาเพิ่มสูงขึ้นในปี 2013-2014 ซึ่งยังคงถูกผลิตปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องกว่าประมาณ 39 กิโลตันต่อปี และตกค้างในชั้นบรรยากาศโลกกว่า 40 %
- CH3CCl3 สูงสุดในปี 1992 จากนั้นลดลงอย่างชัดเจน ยังไม่มีข้อมูลใหม่ในปี 2014
ดังนั้นวิธีการนี้กล่าวคือ งานวิจัยใหม่พบว่าการปล่อยก๊าซในชั้นบรรยากาศจะคงอยู่ที่ 30% ของการผลิตสูงสุดจากทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายออกมาควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ตาม ซึ่งมันยังไม่พอและต้องลดให้มากกว่านี้อีก ไม่งั้นชั้นโอโซนอาจจะเสียหายมากกว่านี้ได้
0 Response to "เกิดรูรั่วขนาดใหญ่ในชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกาที่ขั้วโลกใต้"
แสดงความคิดเห็น