วันที่ 31 ส.ค.57 ทาง Admin ได้ทำการศึกษาหาความเสี่ยงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในภาคกลางและอ่าวไทยจากเหตุแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้านี้ ซึ่งได้ค้นพบว่ามีรอยเลื่อนอยู่ 3 ที่ คือ 1.แนวรอยเลื่อนกิ่งก้านสาขาที่แตกออกมาจากรอยเลื่อนสะแกง 2.แนวรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยกับรอยเลื่อนระนอง
ตามปกติแล้วการเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงประมาณ 8-9 ขึ้นไป คลื่นพลังงานที่สั่นสะเทือนจากจุดที่ไหวจะเดินทางไปไกลถึง 300-350 กิโลเมตร แผ่กระจายออกไปรอบๆ จังหวัดที่อยู่ในรัศมีนี้จะได้รับแรงสะเทือน เรื่องการเกิดดินยุบแผ่นดินถล่มต้องดูว่าตัวจังหวัดตั้งอยู่บนดินชนิดอะไร จังหวัดที่ตั้งอยู่บนดินเลน ดินอ่อนนี้ต้องระวังครับ เพราะคลื่นแผ่นดินไหวจะขยายตัวเป็น 2 เท่าครึ่ง ถ้าเจอดินพวกนี้ จะทำให้ตึกบ้านอาคารถล่มได้รับความเสียหายเช่นกัน
1.แนวรอยเลื่อนกิ่งก้านสาขาที่แตกออกมาจากรอยเลื่อนสะแกง
บริเวณแนวรอยเลื่อนกิ่งก้านสาขานี้ นับว่าเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงไม่น้อยและเคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วหลายครั้งเมื่ออดีตด้วยเช่นกัน โดยรอยเลื่อนกิ่งก้านสาขาใหม่นี้ ได้แตกหักร้าวลงมาเป็นทางยาวพาดผ่าน เจดีย์สามองค์ , ศรีสวัสดิ์ และยาวลงไปทางทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร อ้อมมาทาง จ.สมุทรปราการ และเลยลึกไปถึง จ.ชลบุรี ซึ่งในอดีตที่พม่าเคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงบริเวณแนวรอยเลื่อนสะแกงมาแล้วหลายครั้งตั้งแต่ขนาด 6.1-7.3 ตามมาตราวัด(ML) นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนของชาวพม่า และยังเกิดดินถล่มตามมาอีกด้วย
ภาพรอยเลื่อนสะแกง และ รอยเลื่อนกิ่งก้านสาขาที่พาดผ่านไทยยาวลงไปถึงภาคกลาง
- เมื่อช่วงเช้าตี 5 ตามเวลาประเทศไทย ของวันที่ 28 มิ.ย.57 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.3 ตามมาตราวัด(ML) ทางภาคตะวันตกของไทย โดยจากข้อมูลนี้บ่งบอกถึงจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจาก อ.ไทรโยค 92 กม. และห่างจากกรุงเทพ 224 กม. ซึ่งอยู่ในเขตพม่า ด้วยความลึก 9 กม.
- เมื่อวันที่ 9 เม.ย 33 เวลา 19.34 น.เกิดเหตุแผ่นดินไหวในเขตไทยใกล้กับสนามบินกำแพงแสน ของจังหวัด นครปฐม ด้วยขนาด 4.5 ตามมาตราวัด(ML) ลึก 33 กม. ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพเพียง 83 กม.
ผ่านไป 24 ปีแล้ว บริเวณนี้ยังคงหลับไหลอยู่หรือเปล่า หรือว่าสะสมแรงเค้นไว้เต็มที่พร้อมจะปลดปล่อยแล้วหรือไม่ ไม่มีใครรู้ และดูเหมือนว่าไม่มีใครสนใจพิกัดนี้เลยครับ
- นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อครวมแล้วประมาณ 100 กว่าครั้ง แถวอุทยานแห่งชาติ เขาแหลม และบริเวณอำเภอ ศรีสวัสดิ์ จังหวัด กาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 1983-2010 โดยใช้ฐานข้อมูลของ IRIS ตั้งแต่ปี 1983-2010 มีเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง 3 ครั้ง อยู่ที่ขนาด 5.9 , 5.3 , และ 5.2 ตามมาตราวัด(ML) ซึ่งขนาดและเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 1983 ทั้งหมด หลังจากนั้นก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลยจนปัจจุบัน 2014
จากข้อมูลที่เรามีอยู่ในตอนนี้ ในอนาคตข้างหน้ามันต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน เนื่องจากตามปกติแล้วแผ่นเปลือกโลกแต่ละเพลท (Plate) เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา แต่จะเป็นช่วงไหนนั้นไม่มีใครทราบ
ทางด้านภาคเหนือตอนแรกแผ่นดินไหวเปิดตัว 6.0 และตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อคหลายหมื่นครั้ง ไม่แน่ว่าภาคกลางอาจจะเป็นเหมือนภาคเหนือไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามยังพอจะมีหนทางหนึ่งที่เราจะคาดการณ์ได้ นั่นก็คือมีเหตุปัจจัยมาจากนอกโลก และพยายามติดตามสังเกตภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเราครับ ซึ่งมันจะทำให้เรารู้ล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี
ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานครยังมีความเสี่ยง หากมีการเกิดแผ่นดินไหวในรอยเลื่อนสะแกงหรือรอยเลื่อนกิ่งก้านสาขาใหม่ ที่พาดผ่านประเทศพม่า-ไทย-อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรอยเลื่อนทางภาคตะวันตกของไทยที่จะมีการขยับตัวและทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ ซึ่งอาจจะส่งผลรุนแรงถึงกรุงเทพมหานครเพราะอยู่ห่างเพียง 200 กิโลเมตร ส่วนรอยเลื่อนสะแกงแม้จะห่างไกลกรุงเทพมหานครถึง 600 กิโลเมตร แต่ก็ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะตึกอาคารที่สูงตั้งแต่ 13-30 ชั้นขึ้นไป
ผลกระทบถ้าหากมีการเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนสะแกงซึ่งศึกษาไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1914 โดย Brown และ Leicester
ภาพขยายรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ซึ่งเป็นสาขาของรอยเลื่อนสะแกง ศึกษาโดย Tulyatid และ Charusiri ปี ค.ศ. 1999
ภาพรอยเลื่อนสะแกง และ รอยเลื่อนกิ่งก้านสาขา ที่พาดผ่านเจดีย์สามองค์ , ศรีสวัสดิ์ และยาวลงไปทางทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร ทะลุไปถึงอ่าวไทย อ้อมมาทาง จ.สมุทรปราการ และเลยลึกไปถึง จ.ชลบุรี
ภาพรอยเลื่อนภาคตะวันตกของไทย
อดีตภาคกลางเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.2 เมื่อ 1,800 ปีที่แล้ว ซึ่งตรงบริเวณนี้คือรอยเลื่อนนครนายก
2.แนวรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยกับรอยเลื่อนระนอง
สำหรับแนวโน้มการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ภาคใต้ของรอยเลื่อนทั้ง 2 คือ รอยเลื่อนคลองมะรุ่ยกับรอยเลื่อนระนอง มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าปกติ เพราะว่าจากข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวม ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวในบริเวณแนวรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย หรือแนวรอยเลื่อนระนอง จะเห็นได้ว่าจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุมาตราเหนือเมื่อ วันที่ 26 ธ.ค. 2547 ขนาด 9.1 ริกเตอร์ กระตุ้นให้รอยเลื่อนทั้ง 2 เกิดแผ่นดินไหวตามมาในที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่รุนแรงก็ตาม
- เมื่อวันที่ 7 ต.ค.48 เกิดแผ่นดินไหวบริเวณอ่าวไทยใกล้กับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยขนาด 5.0 ตามมาตราวัด(ML) เวลา 21.14 น. ลึก 10 กม. อยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ 225 กม. โดยการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนั้น เป็นการเกิดในแนวรอยเลื่อนระนอง ที่ได้รับการกระตุ้นและส่งพลังงานมาจากรอยเลื่อนสุมาตรา นอกจากนี้บริเวณอ่าวไทยดังกล่าวยังเคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วอีก 5 ครั้ง จึงทำให้ทราบว่าบริเวณดังกล่าวมีรอยเลื่อนอยู่ไม่น้อย จนบริษัทน้ำมันบอกว่าเจาะยาก เพราะรอยเลื่อน เลื่อนตัดผ่านแอ่งน้ำมันหลายครั้งมากทำให้แอ่ง เลื่อนตัวไปอยู่ในระดับความลึกที่ต่างกัน ต้องเจาะหลายครั้งเพื่อ ให้ตรงแอ่งเหล่านั้น แตกต่างจากแหล่งขุดเจาะในเขตพม่าที่ แอ่งกระจุกตัวกันอยู่ในความลึกระดับเดียวกัน เจาะที่เดียว ก็เจอแหล่งใหญ่เลย
- ส่วนที่จังหวัดภูเก็ตตั้งแต่ปี 2005-2014 บริเวณรอบๆ เกิดแผ่นดินไหวไปแล้ว 4 ครั้ง ตามภาพประกอบ ซึ่งขนาดรุนแรงสุดอยู่ที่ 4.5 ตามมาตราวัด(ML)
สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย
จากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวนั้นพบว่า ประเทศไทยมักเกิดแผ่นดินไหวในระดับกลาง คือวัดความแรงได้ประมาณ 5-6 แมกนิจูดเท่านั้น โดยพื้นที่ภาคเหนือ ตลอดจนตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย มักเกิดขึ้นเหตุแผ่นดินไหวขึ้นอยู่บ่อยครั้ง แต่จะเกิดแรงสั่นสะเทือนที่มนุษย์รับรู้ได้เล็กน้อยในบางครั้งหรือในบางครั้งอาจจะไม่รับรู้เลย ส่วนที่มีระดับความรุนแรงเกินกว่า 6 แมกนิจูดเคยพบว่าเกิดจากรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยที่ภาคใต้เมื่อ 2,000 ปีที่แล้วและ 4,000 ปีที่แล้ว แต่ส่วนใหญ่นั้นมักมีศูนย์กลางการเกิดนอกประเทศไทย ทำให้ประเทศได้รับผลกระทบเสียหายจากแผ่นดินไหวเพียงเล็กน้อย ส่วนการเกิดแผ่นดินไหวที่เกินกว่า 6 แมกนิจูด ในรอบ 40 ปีนั้นจะมีศูนย์กลางการเกิดในประเทศใกล้เคียงแต่ได้รับแรงสะทั่นสะเทือนมาถึงประเทศไทยด้วยตามสถิติการเกิดดังตารางต่อไปนี้
สถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่เกินกว่า 6 ริคเตอร์และประเทศไทยได้รับผลกระทบ
สถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศไทย
อ้างอิงข้อมูล
http://board.palungjit.org/f178/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-51734-880.html
http://www.vcharkarn.com/varticle/59940
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=778555635521231&set=p.778555635521231&type=1&theater
https://www.facebook.com/situation789/photos/a.249056341912144.1073741828.248957411922037/334198080064636/?type=1&theater
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=387566184617003&id=202990213074602
http://www.iris.edu/seismon/
http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/recenteqsww/Maps/
https://www.google.com/earth/
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=66380
http://www.vcharkarn.com/varticle/36860
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=66380
http://www.vcharkarn.com/varticle/36860
0 Response to "ผลกระทบแผ่นดินไหวภาคกลางและรอยเลื่อนลึบลับในไทย ที่ใครก็อาจยังไม่ทราบ"
แสดงความคิดเห็น