จับตาการเรียงตัวของดาวเคราะห์ช่วงเดือน สิงหาคม คศ 2014 : update 3 สิงหาคม
Submitted by Administration on
ในเดือนสิงหาคมนี้จะมีการเรียงตัวของดาวเคราะห์ที่สำคัญสามช่วงได้แก่ ระหว่างวันที่ 8-11, 15-18 และ 23-27 สิงหาคม จะเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกริยามากเป็นพิเศษและเป็นช่วงที่โลกจะมีผลกกระทบที่สามารถสังเกตได้ชัดในรูปแบบของภัยธรรมชาติ เช่น [แผ่นดินไหว-ภูเขาไฟระเบิด-พายุ-ดินถล่ม หลุมยุบ-ไฟฟ้าดับ-ไฟฟ้าช็อต(ในสภาพอากาศปกติ)] โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวของพลังงานไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ จะมีสัมพันธ์กันกับสนามแม่เหล็กโลก แวนอลันเบลล์ , ความสัมพันธ์กับไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ , ความสัมพันธ์กับไฟฟ้าที่พื้นผิวโลก , ความสัมพันธ์กับไฟฟ้าใต้พิ้นผิวโลก , ความสัมพันธ์กับไฟฟ้าในชั้นหลอมเหลวโลก-แม๊กม่า , และความสัมพันธ์กับแกนกลางโลก
ส่วนในเชิงของปริมาณจุดดับนั้น จะอยู่ในช่วงของการวิจัยทดลองคาดการณ์ โดยอาจะมีข้อผิดพลาดได้ โดยช่วงที่ปริมาณจุดดับลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดได้แก่ช่วงวันที่ 6-10 และ 26 สิงหาคม -1 กันยายน และช่วงที่ปริมาณจุดดับจะขึ้นสูงสุดได้แก่ ช่วงวันที่ 21 สิงหาคม
ส่วนการสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลกนั้น ในช่วงระหว่างวันที่ 8-11 ให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงใต้ผิวโลกมากเป็นพิเศษ และระหว่างวันที่ 23-26 ให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศมากเป็นพิเศษ ช่วงอื่นๆนั้น ขอให้ทุกท่านติดตามสังเกตการณ์ตามปกติด้วยความไม่ประมาท
เรื่องแผ่นดินไหว
นักพยากรณ์แผ่นดินไหวล่วงหน้าของญี่ปุ่น ยังคงมาเป็นอันดับหนึ่งของโลก ด้านกรมอุตุหรือหน่วยงานรับมือภัยพิบัติ โดยได้ใช้การตรวจจับกระแสไฟฟ้าในขั้นบรรยากาศที่ 0-5 กิโลเมตร 5-20 กิโลเมตร 20-200 กิโลเมตร และ 200-60,000 กิโลเมตร ร่วมทั้งการวัดค่าไฟฟ้าใต้ชั้นดิน เพื่อนำมาคาดการณ์แผ่นดินไหว และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมล่วงหน้า 24 ชั่วโมง 12 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง และ 1 ชั่วโมง ญี่ปุ่นเท่าที่ทราบ เป็นชาติเดียวในโลก ที่ประกาศเตือนแผ่นดินไหวล่วงหน้า 1 ถึง 5 นาที ให้ประชาชาชนทราบทางสื่อสาธารณะ ทีวี มือถือ เพจเจอร์ ในบริเวณเฉพาะที่คาดว่าจะเกิดแผ่นดินไหว10 สิงหาคม 2557
18 สิงหาคม 2557
0 Response to "การเรียงตัวของดาวเคราะห์ช่วงเดือนสิงหาคม กับการคาดการณ์ภัยพิบัติโลก"
แสดงความคิดเห็น