อัตราการปะทุพ่นลาวาสูงประมาณ 40-100 เมตร ยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง และกระแสลาวายังคงไหลปกคลุมพื้นที่มากถึง 38 ตารางกิโลเมตร ที่รอยแตกของเปลือกโลกบริเวณ Holuhraun โดยการปล่อยลาวาต่อเนื่องไม่หยุดนั้น แสดงให้เห็นว่าแผ่นเปลือกโลกทั้ง 2 แผ่นได้ค่อยๆ แยกตัวออกจากกัน คือระหว่างแผ่นอเมริกาเหนือและแผ่นยูเรเซีย ด้านนักวิทย์ที่ไอซ์แลนด์ ได้บันทึกการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กเมื่อเดือนที่แล้วว่า เกิดการไหวไปประมาณ 20,000 กว่าครั้งได้ เมื่อนำสถิติการไหวมาเทียบกับเดือนนี้จะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดแผ่นดินไหวเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ลาวาได้ไหลแยกออกเป็น 2 สาขา คือ สาขา 1 ไหลไปทางทิศเหนือ และสาขา 2 ไหลไปทางทิศตะวันออก
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือ ก๊าซ SO2 ที่ถูกปล่อยออกมาจากปากปล่องของภูเขาไฟ ยังคงกระจายตัวออกไปทั่วเกาะไอซ์แลนด์อย่างต่อเนื่อง เมื่อก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์แพร่กระจายเข้าสู่อากาศ จะรวมตัวหรือทำปฎิกิริยากับก๊าซออกซิเจนในอากาศจะกลายเป็นซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (Sulphurtrioxide) กลายเป็นซัลเฟตได้มักถูกเรียกว่า กรดซัลฟุริก (Sulphuric acid) หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กรดกำมะถัน มีฤทธิ์ในการกัดกร่อน ทำให้เกิดฝนกรดและออกไซด์ของซัลเฟอร์ยังเป็นก๊าซที่มีอันตรายต่อพืช สัตว์และมนุษย์ รวมทั้งวัสดุและสิ่งก่อสร้างต่างๆได้โดยตรงอีกด้วย
คลิป
ที่มา http://www.volcanodiscovery.com/bardarbunga/news/48070/Bardarbunga-volcano-update-Eruption-continues-with-steady-and-large-lava-output-rate.html
http://earthquake-report.com/2013/05/27/wordwide-volcano-activity-copahue-volcano-chile-alert-raised-to-red/
http://www.bignewsnetwork.com/index.php/sid/225970877
0 Response to "สถานการณ์ภูเขาไฟบาร์ดาร์บุงกา(Bardarbunga) ที่ไอซ์แลนด์ เมื่อวันที่ 23 ก.ย.57"
แสดงความคิดเห็น