วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทีมนักวิทย์พบก๊าซมีเทนรั่วไหลออกมาเป็นจำนวนมากอย่างผิดปกติถึง 50 เท่า ที่ขั้วโลกเหนือ


      ทีมนักวิทยาศาสตร์ SWERUS-C3 ขั้วโลกเหนือ ซึ่งกำลังทำการสำรวจอยู่ในทะเลลัปเตฟของมหาสมุทรอาร์กติกทางภูมิภาคไซบีเรีย  โดยเพียงสัปดาห์เดียวทีมนักวิทย์ตรวจพบก๊าซ "มีเทน" รั่วไหลออกมาเป็นจำนวนมากอย่างผิดปกติ จากก้นทะเลลัปเตฟที่ความลึก 150-500 เมตร ในหลายพื้นที่ของผิวทะเล และยังปรากฏฟองอากาศของก๊าซมีเทนลอยขึ้นมาอีกด้วย  ผลที่ได้จากการวิเคราะห์เบื้องต้นของตัวอย่างน้ำทะเล ชี้ให้เห็นว่าระดับของก๊าซมีเทนแตะอยู่ที่ 10-50 เท่า ซึ่งสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยมาก


      ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซที่มีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23 เท่าตัว และภายใต้น้ำแข็งทางแถบเหนือของไซบีเรียทีมนักวิทย์พบก๊าซมีเทนจำนวนมากมายมหาศาลประมาณ 400,000 ล้านตัน หากเกิดการรั่วไหลออกมาอาจสามารถทำให้น้ำแข็งละลายเร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังมีฤทธิ์ที่เลวร้ายต่อสภาวะโอโซน จนอาจทำให้โลกอยู่ในภาวะเลวร้ายกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาก

คลิป
 

      คณะวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Catlin Arctic Survey) ระบุว่า ถ้าปริมาณของก๊าซมีเทนยังคงรั่วไหลออกมาอย่างต่อเนื่องแบบนี้ล่ะก็ มันจะส่งผลทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลายจนหมดอย่างรวดเร็ว ใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ไร้แผ่นน้ำแข็งปกคลุม พายุจะรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก

      การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เห็นได้ชั้นเจนในพื้นที่บริเวณขั้วโลกเหนือ ถูกจับตามองโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่เดินทางดั้นด้นเข้าไปเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย ในช่วงหน้าร้อนของทุกปีความเปลี่ยนแปลงอันน่ากลัวที่นักวิทยาศาสตร์พูดถึงกันมากคือ ขนาดของแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกลดลงอย่างชัดเจน ตลอดจนชั้นน้ำแข็งถาวรในดินเขตอาร์กติกทุนดรา เหตุการณ์ ดินถล่มและการกัดเซาะในเขตอาร์กติก รวมถึงพายุในมหาสมุทรอาร์กติก และการเปลี่ยนแปลงของพืชสิ่งมีชีวิตในเขตอาร์กติก

      นักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทั่วโลก เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้ เพราะปัจจุบันในช่วงฤดูร้อนแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกเหลืออยู่เพียงร้อยละ 10  ของพื้นที่ทั้งหมด จากเดิมเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาน้ำแข็งบริเวณดังกล่าวเหลือประมาณร้อยละ 50-60 ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆอีกทั้ง ข้อมูลที่ผ่านมายังพบว่าอุณหภูมิของพื้นที่ดังกล่าวยังสูงกว่าพื้นที่อื่น 2-3 องศาเซลเซียส ซึ่งทุก 1 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้นน้ำแข็งจะหายไปประมาณ 1 ล้านตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 12 ของพื้นที่ทั้งหมดปัญหาทั้งหมดจะส่งผลให้ทั่วโลกร้อนขึ้นอย่างแน่นอน โดยใน 20 ปีข้างหน้าเป็นอย่างต่ำจะทำให้ทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส รวมถึงประเทศไทย ที่ถึงแม้การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรง แต่ก็ไม่อาจเลี่ยงผลกระทบโดยอ้อมจะเกิดการไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก และแอตแลนติกที่เปลี่ยนแปลงไป จากอิทธิพลของมวลอากาศจากอาร์กติก ทำให้เกิดเอลนิโญและลานิญาจะถี่ขึ้น และยากต่อการคาดเดา"

 
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น