จุดเริ่มต้นของการค้นพบหลักฐานนี้ หลังจากที่ภารกิจ Swarm ฝูงดาวเทียมทั้ง 3 ดวง ขององค์การอวกาศยุโรป หรือ อีซ่า ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการอ่อนตัวลงเร็วขึ้นของสนามแม่เหล็กโลกมากกว่าอดีตที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้นักวิจัยบอกว่า สนามแม่เหล็กโลกจะอ่อนตัวลงและเกิดการสลับขั้วอยู่ในช่วง ค.ศ. 3000 – 4000 คือสนามแม่เหล็กโลกจะอ่อนตัวประมาณ 5% ต่อศตวรรษ(100 ปี) แต่ข้อมูลใหม่ไม่สอดคล้องกัน ตอนนี้มีการอ่อนตัว 5% ต่อทศวรรษ(10 ปี) หมายความว่ามันเร็วขึ้นมากกว่า 10 เท่าของที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งทำให้โลกอาจเกิดการสลับขั้วแม่เหล็กขึ้นในช่วง ค.ศ 2xxx นี้ แต่ไม่ทราบว่าช่วงปีไหน
ปัจจุบันสนามแม่เหล็กโลกทางทิศเหนือกำลังเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วไปยังด้านไซบีเรียของรัสเซียด้วยความเร็วประมาณ 64 กิโลเมตรต่อปี รวมระยะทางกว่า 1,200 กิโลเมตรเลยทีเดียว และยังคงไม่ทราบว่าการเคลื่อนที่นี้จะมีความต่อเนื่องในความเร่งหรือไม่
จุดที่อ่อนกำลังลงใหญ่ทีสุดของสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งขยายไปถึง 370,000 ไมล์ (6 แสนกิโลเมตร) บนพื้นโลก อยู่ที่ฝั่งตะวันตก ขณะที่จุดที่มีแม่เหล็กแข็งแรง คือ จุดที่อยู่ตรงทางใต้ของอินเดีย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากดาวเทียม Swarm
ภาพจำลองขั้นตอนสุดท้ายของการสลับขั้วแม่เหล็กโลกเมื่อ 786,000 ปีที่แล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่ามันใช้เวลาแค่ 100 ปี ก็สามารถสลับขั้วเสร็จได้อย่างสมบูรณ์
ผลกระทบต่อชีวภาคและสังคมมนุษย์
สนามแม่เหล็กของโลกจะมีการสลับขั้วทุกๆ 250,000 - 300,000 ปีโดยเฉลี่ย หรืออาจคลาดเคลื่อนไปบ้างก็เป็นได้ มนุษยชาติเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อราวๆ 2.5 ล้านปีมาแล้ว โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 786,000 ปีก่อน และถึงอย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่าการอ่อนตัวของสนามแม่เหล็ก จะทำให้เกิดวันโลกแตก ดังนั้นกลไกลของการเกิดสนามแม่เหล็กนั้นก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก มันจึงเป็นการยากที่จะกล่าวว่าลักษณะอย่างไรของสนามแม่เหล็กที่จะนำไปสู่การสลับขั้ว บ้างก็คาดเดากันว่าสนามแม่เหล็กที่ลดลงอย่างมากในช่วงที่กำลังมีการสลับขั้วนั้นจะทำให้พื้นผิวโลกขาดสิ่งปิดบังและสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตามมนุษย์โบราณ (Homo erectus) และบรรพบุรุษของเราก็อยู่รอดมาได้จากเหตุการณ์การสลับขั้วแม่เหล็กโลกในอดีตที่ผ่านมาหลายครั้งแล้ว และก็ไม่มีหลักฐานว่าการสลับขั้วแม่เหล็กโลกนั้นจะมีผลต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต มีการอธิบายหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ที่ว่าลมสุริยะอาจจะมีผลชักนำให้สนามแม่เหล็กในชั้นบรรยากาศไอออนโนสเฟียร์ให้เป็นเกราะป้องกันพื้นผิวโลกจากอนุภาคมีพลังงานอย่างรังสีคอสมิก แม้ว่าจะอยู่ในสภาพที่ไร้สนามแม่เหล็กแบบนอร์มอลของโลกก็ตาม
ที่มา
http://thewatchers.adorraeli.com/2014/10/15/earths-magnetic-field-can-flip-in-less-than-100-years-study/
http://www.iflscience.com/physics/magnetic-pole-reversal-can-take-less-lifetime
http://hilight.kapook.com/view/55134
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81
http://www.livescience.com/46694-magnetic-field-weakens.html
0 Response to "การศึกษาใหม่จากนักวิทย์พบว่า สนามแม่เหล็กโลกจะใช้เวลาในการสลับขั้วไม่ถึง 100 ปี"
แสดงความคิดเห็น