แรกเริ่มเดิมทีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีงายาวเหล่านี้มาเกยหาดแค่ราวๆ 1,500 ตัว แต่แล้วจำนวนของพวกมันกลับเพิ่มขึ้นเป็นสิบๆ เท่าในช่วงไม่กี่วันมานี้ แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมทะเลในช่วงฤดูร้อนมีอัตราการลดลงเป็นอย่างมาก จนค่อนไปทางเหนือของไหล่ทวีปบริเวณทะเลชุกชี (Chukchi Sea) ในเขตน่านน้ำของรัสเซีย ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้เพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
เฟอร์กูสันชี้ว่า ประชากรหมีน้ำตาลก็พบมากขึ้นบนชายหาดแห่งเดียวกันนี้ด้วย ส่วนวาฬสีเทาซึ่งเคยหากินอยู่แถบนี้จนถึงช่วงทศวรรษ 1990 ได้สูญหายไปแล้ว
ตามภาพที่ปรากฏแต่เมื่อก้อนน้ำแข็งละลายลงในช่วงหน้าร้อนจึงทำให้พวกมันต้องอพยพขึ้นฝั่ง และคาดว่าในปีนี้แผ่นน้ำแข็งเกิดการละลายเป็นบริเวณกว้างมากกว่าปกติ โดยปกติแล้วเจ้าวอลรัสส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในแถบขั้วโลกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งวอลรัสชอบอยู่บนแผ่นน้ำแข็งนอกชายฝั่งไม่ใช่อยู่บนชายหาด
ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุด้วยอะไรก็ตามเช่น สภาพภูมิอากาศ , ก๊าซมีเทนรั่ว , แผ่นดินไหว หรือแม่กระทั้งการเจตนาทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายเพื่อสร้างกระแสภาวะโลกร้อน แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(climate change) บ่อยมาก และเรื่องนี้น่าจะมีวาระซ่อนเร้น เพราะเกี่ยวข้องกับ ธุรกิจ จนทำให้เกิดความสับสนระหว่างกลุ่มนักวิทย์ที่บอกว่าโลกร้อน และกลุ่มนักวิทย์ที่โต้แย้งบอกว่าโลกไม่ได้ร้อน แต่กำลังเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง เพราะตอนนี้น้ำแข็งมันกำลังเพิ่มขึ้น??
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นเพราะเราลืมคิดไปว่า โลกกำลังพยายามปรับความสมดุลของระบบนิเวศทางธรรมชาติอยู่นั่นเอง
โดยกลไกการปรับความสมดุลของระบบนิเวศทางธรรมชาติบนโลกตามปกติ เมื่อใดที่โลกเริ่มร้อน อากาศมีมลพิษสะสมมาก และปริมาณของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อนั้นโลกก็จะเริ่มเกิดความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ระบบนิเวศพัง อื่นๆ จนในที่สุดโลกก็จะเริ่มเข้าสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการคืนชีพความสมดุลของระบบนิเวศทางธรรมชาติใหม่
รูปภาพเปรียบเทียบเมื่อปี 2007 กับ 2014 แสดงปริมาณน้ำแข็งขั้วโลกเหนือในช่วงฤดูร้อน
กราฟเส้นสีฟ้าบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าปริมาณน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือกำลังมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้น
ตารางบอกอัตราการขยายตัวของแผ่นน้ำแข็ง
ที่ขั้วโลกใต้นักวิทย์เผย น้ำแข็งขั้วโลกใต้ใหญ่ขึ้น 20 ล้านตารางกิโลเมตร จนทำลายสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เคยมีการบันทึกมา คลิกที่ลิงค์ดูข้อมูล http://warningdisasters.blogspot.com/2014/09/20.html
ที่มา
http://www.bbc.com/news/science-environment-29450240
http://nsidc.org/arcticseaicenews/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น