วันที่ 7 ต.ค.57 แผ่นดินไหว 6.1 Mw ลึก 10 กม. บริเวณ มณฑลยูนนานของประเทศจีน
วันที่ 8 ต.ค.57 แผ่นดินไหว 6.0 Mw ลึก 10 กม. บริเวณอ่าวแคลิฟอร์เนีย
วันที่ 9 ต.ค.57 แผ่นดินไหว 7.1 Mw ลึก 10 กม. ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก
วันที่ 9 ต.ค.57 แผ่นดินไหว 6.5 Mw ลึก 10 กม. ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก
วันที่ 11 ต.ค.57 แผ่นดินไหว 6.0 Mw ลึก 10 กม. บริเวณ จ.ฮกไกโดของประเทศญี่ปุ่น
การสังเกตภัยพิบัติทางธรรมชาติ
หลังเริ่มเข้าสู่วันที่ 7 ตุลาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีการเรียงตัวกันของดาวเคราะห์ โลกก็เริ่มปรากฏเห็นภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ และแผ่นดินไหวรุนแรงที่เกิดขึ้นอีกด้วย ซึ่งจากรายงานข่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ เราจะเห็นได้ว่า ทุกครั้งที่ระบบสุริยะของเราเริ่มเข้าสู่ช่วงการเรียงตัวกันของดาวเคราะห์ ปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์ หรือแม้แต่ปรากฏการณ์ดวงจันทร์ในรูปแบบต่างๆ จากสถิติที่เคยสังเกตพบมา 3 ปี ทุกครั้งก็มักจะเกิดเหตุภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น และก็เป็นไปตามที่คาดการณ์ทำนายไว้ใจในตลอด ตอนแรกก็ไม่เชื่อเท่าไร เลยลองสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง จากการศึกษาข้อมูลค้นคว้าของ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น ได้ซักพัก และจากหลายๆตัวอย่างในเน็ต จนความคิดผมก็เปลี่ยนแปลงไป และตอนนี้ก็พยายามศึกษาหาสาเหตุที่มีแรงจูงใจอื่นๆที่เกิดขึ้นมากกว่านี้อีก
เนื่องจากมันมีตัวแปรหลายอย่างมาก กับการนำตัวแปรต่างๆมาเชื่อมโยงกันและหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ถึงความเป็นไปได้ให้ถูกต้องตามหลักการ โดยผมจะ review ข้อมูลที่สำคัญอันหนึ่งซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
(1.)ถ้าเป็นวันธรรมดาแทบจะคาดการณ์ทำนายไม่ได้เลย เพราะตัวแปรเกิดน้อย โอกาสทำนายเลยต่ำมาก
(2.)ถ้าวันใดที่มีตัวแปรเกิดเยอะ จนเกิดความสัมพันธ์กัน เช่น ปฏิกิริยาดวงาอาทิตย์สูงขึ้น+ดาวเคราะห์เรียงตัว+พระจันทร์เต็มดวงหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ก็มักจะสามารถทำนายคาดการณ์ได้ถูกต้องกว่า 80 -100% เลยทีเดียว จึงทำให้เรารู้ว่าวันไหนควรจะเตรียมตัวเตรียมใจเผื่อไว้ ด้วยความไม่ประมาทเท่านั้นเอง แต่อย่าไปตื่นกลัวเพราะมันเป็นเรื่องที่ธรรมชาติมากๆ แค่เราปรับตัวให้ทันก็พอ
ทั้งนี้โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวของพลังงานไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ จะมีสัมพันธ์กันกับสนามแม่เหล็กโลก แถบวงแหวนแวนอลันเบลล์ , ความสัมพันธ์กับไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ , ความสัมพันธ์กับไฟฟ้าที่พื้นผิวโลก , ความสัมพันธ์กับไฟฟ้าใต้พิ้นผิวโลก , ความสัมพันธ์กับไฟฟ้าในชั้นหลอมเหลวโลก-แม๊กม่า , และความสัมพันธ์กับแกนกลางโลก
ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกินระดับ 8 ริกเตอร์ ขึ้นไป และปฏิกริยาดวงอาทิตย์นั้น มีงานวิจัยและการวัดทางสถิติค้นพบว่ามีความสัมพันธ์กัน จากข้อมูลที่ทำการวัดติดต่อกันมาเป็นเวลา 35 ปีพบว่า แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (M8+) จะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงที่สนามแม่เหล็กที่ดวงอาทิตย์มีการแกว่งตัว โดยเฉพาะในช่วงที่มีค่ามากสุด ต่ำสุด หรือในช่วงที่มีการสลับขั้ว ไม่ว่าจะเป็นแนวสนามแม่เหล็กทางทิศเหนือและทิศใต้ก็ตาม แต่ผลการวิจัยครั้งนี้ยังไม่สามารถบ่งบอกถึงวันที่จะเกิดเหตุได้แน่นอนเนื่องจากข้อมูลสนามแม่เหล็กที่ทำการวัดนั้นเป็นค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาทุก 10 วัน
ส่วนรังสี X-ray ที่ตรวจพบนอกโลกมากกว่าปกติในช่วงวันใดช่วงหนึ่งนั้น จะทำให้โมเลกุลของน้ำ และธาตุอื่นๆในอากาศแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้าได้มากเป็นพิเศษ เริ่งปฏิกริยาการก่อตัวของน้ำในชั้บรรยากาศโลก และลมพายุ โดยเฉพาะในบริเวณใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ตามทฤษฏีไฟฟ้า ดังนั้นจึงควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศมากเป็นพิเศษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น