การตรวจพบเจอดาวฤกษ์ DG CVn ครั้งนี้ เป็นการตรวจเจอโดยกล้องโทรทัศน์บนดาวเทียม Swift ที่โคจรอยู่นอกโลก จากเหตุการณ์วัดค่าความสว่างของรังสี X-ray เมื่อวันที่ 23 เม.ย.2014 ในระดับ X10,000
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการประเมิน DG CVn พบว่า ดาวฤกษ์ดวงนี้อุบัติขึ้นมาแล้วกว่า 30 ล้านปี ซึ่งมีอายุน้อยมากประมาณร้อยละ 0.7 ของระบบสุริยะเรา และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเราออกไปราว 60 ปีแสง ทั้งนี้ความร้อนลุกจ้าจุดสูงสุดของดาว DG CVn มีมากถึง 360 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ (200 ล้านองศาเซลเซียส) ซึ่งถือว่ามีความร้อนมากกว่าใจกลางดวงอาทิตย์ถึง 12 เท่า และจากการวิเคราะห์ตัวดาวฤกษ์ ยังพบอีกว่า มันหมุนรอบตัวเองเร็วกว่าดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 30 เท่า จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไปกระตุ้นสนามแม่เหล็กของตัวดาว จนปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างรุนแรงได้ขนาดนี้ (amplifying magnetiç fields)
การระเบิดปลดปล่อยพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์ครั้งรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในประวัติศาสตร์โลก เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนปี 2003 ด้วยระดับ X45 แต่ของดาวฤกษ์ DG CVn ไม่ใช่แค่นั้น เพราะมันสามารถปลดปล่อยพลังพายุสุริยะขนาดยักษ์ด้วยระดับแรงมากถึง X100,000 ซึ่งมีความรุนแรงกว่าของดวงอาทิตย์ประมาณ 2,000 เท่า และถ้าหากพายุสุริยะขนาดยักษ์ลูกนี้ปะทะโดนโลก สนามแม่เหล็กของโลกจะต้านทานไว้ไม่ไหว จนสนามแม่เหล็กโลกหายหมด และจะต้องใช้เวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 20 วัน กว่าพายุสุริยะขนาดยักษ์ลูกนี้จะพัดผ่านโลกไปหมด ถึงตอนนั้นโลกคงจะเกิดความเสียหายมาก อย่างที่ไม่สามารถประเมินได้เลย
ที่มา
http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-2775785/Meet-megaflare-Nasa-spots-stellar-flare-10-000-times-powerful-largest-solar-blast-recorded.html
http://www.nasa.gov/content/goddard/nasas-swift-mission-observes-mega-flares-from-a-mini-star/#.VCtWHfmSySr
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น