ทั้งนี้ข้อมูลของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยว่า ปรากฏการณ์ เมฆสีรุ้ง หรือ Irisation เรียกว่า Iridescence ก็ได้ เกิดจากการที่แสงอาทิตย์สีขาวตกกระทบเม็ดน้ำขนาดต่างๆ ในเมฆจางๆ ซึ่งเป็นเมฆที่มีจำนวนหยดน้ำไม่หนาแน่นมากนัก เมื่อแสงตกกระทบหยดน้ำแต่ละหยด จะเกิดการหักเหเปลี่ยนทิศทางไปจากแนวเดิม
แต่เนื่องจากแสงสีต่างๆ หักเหได้ไม่เท่ากัน ผลก็คือ แสงสีขาวแตกออกเป็นสีรุ้ง และเนื่องจากในเมฆจางๆ ที่ว่านี้มีเม็ดน้ำขนาดต่างๆ กัน ทำให้สีรุ้งสีหนึ่ง (เช่น สีเขียว) ที่หักเหออกจากเม็ดน้ำขนาดหนึ่งๆ ซ้อนทับกับสีรุ้งอีกสีหนึ่ง (เช่น สีเหลือง) ที่มาจากเม็ดน้ำอีกขนาดหนึ่ง จึงทำให้มองเห็นสีรุ้งมีลักษณะเหลือบซ้อนทับกันอย่างสลับซับซ้อน บางทีก็คล้ายสีรุ้งบนผิวไข่มุก บางทีก็ซ้อนกันเป็นชั้นๆปรากฏการณ์สีรุ้งอาจเกิดในเมฆจางๆ บนท้องฟ้า โดยที่ไม่ต้องมีเมฆก้อนใหญ่ (อย่างเมฆฝนฟ้าคะนอง) มาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ แต่เท่าที่พบกันบ่อยๆ ก็คือ สีรุ้งที่อยู่เหนือเมฆก้อนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็นที่ดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า”
ภาพจาก สมาชิกแฟนเพจ CM108.com
ที่มา http://www.cm108.com/bbb/index.php?act=ST&f=4&t=3559
http://www.narit.or.th/index.php/astro-photo/atmosphere-phenomenon/867-2013-10-24-07-41-56
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.653791361305553.1073741853.276095042408522&type=3
http://news.mthai.com/hot-news/387268.html
ภาพที่เชียงใหม่ คลิกที่ภาพเพื่อขยายดู
ภาพที่สุรินทร์ จากคุณ Dearr Thanagrit เขายังบอกอีกว่ามี UFO บินผ่านด้วย คลิกที่ภาพเพื่อขยายดู
ภาพที่กาญจนบุรี จากคุณ Jaroon Chairuttanakan คลิกที่ภาพเพื่อขยายดู
ภาพที่นครสวรรค์ จากคุณ Yong Sarawuth ประมาณเดือนที่แล้วด้วยกล้อง iPhone เวลา 5 โมงเย็น คลิกที่ภาพเพื่อขยายดู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น