วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

สถิติของสัตว์ทะเลบริเวณชายฝั่งไทยพบว่ามีการเกยตื้นบ่อยมาก

สถิติของสัตว์ทะเลบริเวณชายฝั่งไทยพบว่ามีการเกยตื้นบ่อยมาก




แมงกะพรุนหลากสี ไปเจ้าหลาวครับ
       วันที่ 27 กันยายน 2557 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตะวันออก รับแจ้งการสะพรั่งของแมงกะพรุนถ้วยบริเวณหาดเจ้าหลาว จ.จันทบุรี จากการพื้นที่ตรวจสอบพบแมงกะพรุนถ้วย ชนิด Catostylus townsendii มีขนาดค่อนข้างเล็ก ลอยตลอดหน้าแนวหาดเจ้าหลาวถึงท่าเรือสุดขอบฟ้าประมาณ 4-5 กม.  มีความหนาแน่นปานกลาง บางบริเวณหนาแน่นสูงถึง 20 ตัว/ตร.ม. โดยจะลอยขึ้นมาเป็นแพบนผิวน้ำในช่วงเย็น


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


พบซากหอยเสียบจำนวนมาก หาดแม่รำพึง
       วันที่ 27 กันยายน 2557 เวลา 08.30 น. กรม ทช. โดยศูนย์อนุรักษ์ ทช. ที่ 1 (จ.ระยอง) รับแจ้งพบซากหอยเสียบบริเวณชายหาดแม่รำพึง-ลานหินขาว จึงประสานศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตะวันออก  เก็บตัวอย่างหอยและน้ำทะเล เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุการตายของหอยเสียบต่อไป


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



พบวาฬหัวทุยเกยตื้น ระนอง
       วันที่ 25 กันยายน 2557 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามัน รับแจ้งจากอุทยานหมู่เกาะระนอง พบซากวาฬหัวทุย ความยาวประมาณ 10 เมตร เกยตื้นบริเวณชายฝั่งเกาะช้าง  จ. ระนอง จึงส่งหน่วยสำรวจลงพื้นที่เก็บข้อมูลและชันสูตรสาเหตุการตายต่อไป


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ดงบรูด้า พบมากอย่างต่อเนื่อง
       วันที่ 24 กันยายน 2557 กรม ทช. โดยเรือ ทช. 219 ศูนย์อนุรักษ์ ทช. ที่ 2 (จ.สมุทรสาคร) ร่วมกับศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนบน ออกสำรวจแหล่งอาศัยของปลาวาฬบรูด้า ในวันนี้ยังคงพบอย่างต่อเนื่องจำนวนมากถึง 15 ตัว บริเวณปากน้ำท่าจีน จ.สมุทรสาคร ต่อเนื่องถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



เต่าตนุเกยตื้น บ้านฉาง จ.ระยอง
       วันที่ 26 กันยายน 2557 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตะวันออก รับแจ้งจากศูนย์อนุรักษ์ ทช. ที่ 1 (จ.ระยอง) พบเต่าตนุ เพศเมีย ขนาดกว้าง 73 ซม. ยาว 78 ซม. น้ำหนักประมาณ 50 กก. อายุ 15-20 ปี เกยตื้นบริเวณหาดพยูน ใกล้ร้านอาหารชายทะเลซีฟู้ด ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยไม่พบบาดแผลภายนอก ไม่พบหมายเลขไมโครชิพและ tag ภายนอก  สภาพซากเน่า คาดตายมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๗ วัน จึงได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ DNA และฝังกลบต่อไป


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



พบซากวาฬโอมูระ(Omura's whale) จ.ระนอง
       วันที่ 23 กันยายน 2557 กรม ทช. โดยสถานีฯ ๔๒ ส่วนบริหารฯ ป่าชายเลนที่๔ รับแจ้งจากชาวบ้าน ม.3 บ้านบางกล้วยนอก ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง พบซากวาฬ  โอมูระ ความยาวประมาณ 8 เมตร บริเวณเกาะนุ้ย คาดเสียชีวิตมาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงประสานให้ศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามัน เข้าพื้นที่จัดการซาก เก็บเนื้อเยื่อสำหรับใช้ศึกษา DNA  นำกระโหลกและกระดูกส่วนต้นคอมาจำแนกชนิดต่อไป


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



แมงกะพรุนหลากสี
       วันที่ 23 กันยายน 2557 ช่วงบ่ายประมาณ 15.00 น. พบแมงกะพรุนถ้วยหลากสีสันจำนวนมาก บริเวณท่าเทียบเรือแหลมเทียน ภายในฐานทัพเรือสัตหีบ และท่าเทียบเรือจุกเสม็ด ท่าเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ผลการชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตโลมาหลังโหนก ตรัง
       จากกรณีการเกยตื้นของโลมาหลังโหนก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2557 บริเวณปากคลองบ้านพร้าว ม.1 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง นั้นศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามัน  ได้ผ่าพิสูจน์และสรุปสาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจากการป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือดและพบพยาธิในปอดครับ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น