วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

5-9 กันยายน เกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เรียงตัวกัน , อุกกาบาตเฉียดโลก , พระจันทร์ใกล้โลกสุดและเต็มดวง


      วันที่ 5-9 กันยายน 2557 จะมีการเรียงตัวกันของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะและจะมีปรากฏการณ์ดาวหางพุ่งเข้าเฉียดโลก รวมไปถึงยังมีปรากฏการณ์พระจันทร์เข้าใกล้โลกและเต็มดวงอีกด้วย โดยในช่วงเวลาดังกล่าวให้ติดตามสังเกตการณ์ การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นกับโลกและปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์ที่คาดการณ์ว่าจะมีมากเป็นพิเศษ  จากความสัมพันธ์ของกระแสพลังงานไฟฟ้า คลื่นความถี่ ที่เชื่อมโยงกันทั่วทั้งระบบสุริยะของเรา


      วันที่ 5-6 ก.ย.57 จะมีการเรียงตัวกันของดาวเคราะห์ระหว่าง ดวงอาทิตย์ , โลก/ดวงจันทร์ , ดาวเนปจูน และ ดวงอาทิตย์ , ดาวพุธ , ดาวเสาร์   ช่วงเวลาระหว่างนั้นเมื่อเราสังเกตบนท้องฟ้า เราจะเห็นดาว แอนทาเรส(Antares) กับ ดาวอังคาร เป็นจุดสีแดงสว่างอยู่บนท้องไฟ   ( แอนทาเรส เป็นดาวยักษ์แดงของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก มีระยะทางห่างจากโลก 600 ปีแสง และมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 500 เท่า



ดาว แอนทาเรส(Antares) กับ ดาวอังคาร


      วันที่ 8-9 ก.ย.57 จะมีการเรียงตัวกันของดาวเคราะห์ระหว่าง ดวงอาทิตย์ , โลก , ดวงจันทร์(ใกล้โลกที่สุด/เต็มดวง)  และในแนวตั้งฉากระหว่าง ดวงอาทิตย์ , ดาวศุกร์ , ดาวเสาร์  ซึ่งในวันที่ 8 กย. ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเวลา 11 น. ระยะห่าง 358,389 กม. และในวันที่ 9 กย. เกิดจันทร์เพ็ญเต็มดวง เวลา 08:38 น. 


ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก

      ในวันที่ 8 กันยายน เวลา 01:18 ตามเวลาไทย หรือตรงกับ 18:18 ตามเวลามาตราฐานกรีนิซ (UTC) ดาวเคราะห์น้อยนาม 2014 RC ขนาดเล็กราว 20 เมตร จะโคจรผ่านโลกไปในระยะเกือบถึงวงโคจรของดาวเทียมค้างฟ้า (Geosynchronous Orbits) หรือราว 40,000 กิโลเมตรจากผิวโลกเท่านั้น

      โดยความสว่างปรากฏราวแมกนิจูด 11.5 นั่นแปลว่าเรามองไม่เห็นมันด้วยตาเปล่า (ตาคนเห็นได้แค่แมกนิจูด 6) อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจสามารถใช้กล้องดูดาวส่องหามันได้ แต่อาจไม่ง่ายเนื่องจากมันเคลื่อนที่เร็วมาก

      วงโคจรค้างฟ้า คือวงโคจรของดาวเทียมสื่อสารและพยากรณ์อากาศ ระยะของวงโคจรนี้ห่างราวๆ 36,000 กิโลเมตรจากผิวโลก แต่จากการคำนวนไม่น่าจะมีการชนกันของดาวเคราะห์น้อยและดาวเทียม


ที่มา http://www.skyandtelescope.com/observing/weeks-sky-glance-august-29-september-6/
http://www.jpl.nasa.gov/asteroidwatch/newsfeatures.cfm?release=2014-295
http://www.solarsystemscope.com/
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น